ยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษ คืออะไร?
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบคุมยาเสพติดให้โทษของประเทศไทย
ได้ให้นิยามของยาเสพติดให้โทษไว้ว่า หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ
ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีใดตาม เช่น รับประทาน สูบ ดมหรือฉีดแล้ว จะก่อให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจที่สำคัญ 4 ประการ
คือ
1.
มีความต้องการเสพสารนั้นอย่างรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
2.
ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณการเสพสารนั้นมากขึ้นเป็นลำดับ
3.
เมื่อหยุดเสพสารนั้นจะเกิดอาการถอนยา
4.
สุขภาพของผู้เสพสารนั้นเป็นเวลานานจะทรุดโทรมลง
ประเภทของยาเสพติดให้โทษ
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. 2522 ได้จัดประเภทของยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง
เป็นยาที่ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์
และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี
เป็นต้น
ประเภทที่2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป
เป็นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคในระดับน้อยจนถึงมาก
และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึงระวัง เช่น มอร์ฟีน
โคเคน โคเดอีน เป็นต้น
ประเภทที่3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท2
เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับไว้
เป็นยาที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย
และมีประโยชน์มากในการรักษาโรคเช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน เป็นต้น
ประเภทที่4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท1
หรือประเภท2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์(Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride)
ประเภทที่5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่1
ถึงประเภทที่4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
โทษของยาเสพติดต่อร่างกาย
หัวใจ : เต้นไม่สม่ำเสมอ,
เจ็บหน้าอก, หัวใจวาย
สมอง
: สมองส่วนอยากมีอิทธิพลมากกว่าสมองส่วนเหตุผล,
ความคิดวิเคราะห์ช้าลง, หลงลืมง่าย, ควบคุมตัวเองไม่ได้, ทําสิ่งเลวร้ายที่ไม่ควรทํา
ตา
: รูม่านตาขยาย,
ตาพร่ามัว
ปาก
: ปากแห้งเหม็น,
มีปัญหาในช่องปาก
ฟัน
: ขบฟันตลอดเวลา,
ฟันสึกกร่อน ผุ
ตับ
: โรคตับอักเสบ
กล้ามเนื้อ
: กระตุกชัก, กล้ามเนื้อทํางานไม่ประสานกัน
ผิวหนัง
: เหงื่อออกง่ายและมาก, ชาตามผิวหนัง, เป็นฝี, เนื้อเยื่ออ่อนติดเชื้อง่าย
ระบบไหลเวียนโลหิต
: ความดันโลหิตสูง, เส้นเลือดเป็นแผลอุดตัน
ระบบสืบพันธุ์
: เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, แท้งหรือคลอดก่อนกําหนด,
คลอดลูกออกมาพิการ
ระบบภูมิคุ้มกัน
: บกพร่องและติดเชื้อได้ง่าย
จิตใจ : นอนไม่หลับ, ฉุนเฉียวก้าวร้าว, ความคิดสับสน, ประสาทหลอนหวาดระแวง, คลั่ง, ซึมเศร้า
อ้างอิง : https://saf.or.th/
https://www.oncb.go.th/Home/downloadmanual/handbook_drug_environment.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น